ข้อสอบ วิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอนผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
โรงเรียนข้าพเจ้าสามารถนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับองค์กรเพื่อช่วยในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรและเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารและการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศทุกระบบจะต้องมีข้อมูลนำเข้า ประมวลผลและให้ผลลัพธ์ที่เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อองค์กร
- กรอบแนวความคิด ขั้นตอนผลกระทบต่อการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอกล่าวถึงระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management – Informantion System ) มี
- วัตถุประสงค์หลัก : ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติการและสรุปสภาพการณ์
- ข้อมูลนำเข้า : ข้อมูลจากการรายงานกิจกรรมและจากแต่ละขอบเขตการบริหารในองค์กร
ตัวแบบไม่ซับซ้อน
- สารสนเทศผลลัพธ์ : รายงานสรุป รายงานสิ่งสกปกติสารสนเทศที่มีโครงสร้าง
- ผู้ใช้ : ผู้บริหาร
- รูปแบบของการตัดสินใจ : มีโครงสร้างแน่นอน
- การใช้ข้อมูลสนับสนุน : ข้อมูลสนับสนุนตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด
- ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า การที่นะระบบสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานใน
องค์กรเพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำอย่างเป็นระบบ เพื่อสะดวกในการใช้ งานซึ่งมีข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. สารสนเทศด้านโรงเรียน เช่น ข้อมูลประวัติโรงเรียน
2. สารสนเทศด้านบุคลากร เช่น ข้อมูลประวัติบุคลากร ข้อมูลจำนวนบุคลากร
3. สารสนเทศด้านงบประมาณ ได้แก่ ภาพรวมงบประมาณ ภาพรวมยุทธศาสตร์
สรุปจำนวนโครงการ สรุปจำนวนกิจกรรม ติดตามแผนการดำเนินงาน
4. สารสนเทศด้านพัสดุและครุภัณฑ์ ได้แก่
- ทะเบียนทรัพย์สินตามปีงบประมาณ
- อาคารและสิ่งปลูกสร้าง
- สรุปจำนวนการสั่งซื้อ
- รายงานจำนวนครุ๓ณฑ์แต่ละประเภท
5. สารสนเทศด้านการเงินและบัญชี ได้แก่
- งบการเงินของโรงเรียน
- รายได้ค่าใช้จ่ายของโรงเรียน
6. สารสนเทศด้านการจัดการศึกษา ได้แก่
- จำนวนนักเรียนทั้งหมด
- จำนวนนักเรียนย้ายเข้า ย้ายออก
- จำนวนนักเรียนประจำปีการศึกษา
7. สารสนเทศด้านกลไกประกันคุณภาพ ได้แก่
- ข้อมูลการประเมินตนเอง
- รายงานตัวบ่งชี้วัด
- สรุปตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพ
- S A R
8. สารสนเทศด้านงานบริหารโรงเรียน ได้แก่
- ข้อมูลการใช้ยานพาหนะ
- แสดงหนังสือเข้าและออก
- รายงานติดตามหนังสือเข้าและออก
- สถิติการใช้ห้องปฏิบัติการ / ห้องประกอบการ
- สรุปหนังสือรับส่ง
- สรุปการใช้รถยนต์
ผลกระทบในการใช้ระบบสารสนเทศในองค์กร
- กรณีเครือข่ายล่ม ไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนั้น ทำให้การปฏิบัติล่าช้า หรือไม่ทันเวลา ฉะนั้น องค์กรควรเตรียมรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ โดยสำรองข้อมูลทุกๆด้านของโรงเรียนลงในแผ่น C D หรือ Flash Driver เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลให้คงอยู่เหมือนเดิมและสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการข้อมูลเหล่านั้น
ข้อ 2 . ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้าน ไอซีที ( I C T ) ฉบับที่ 2ของรัฐบาลไทยจงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที ( I C T ) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จากการสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บท ว่าด้วย 6 ยุทธศาสตร์ แยกรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
มีสาระสำคัญ เพื่อเร่งพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมโดยรวม โดยมีมาตรการที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. การพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT Professional )
1.1 ) พัฒนาผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะและคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
1.2 ) พัฒนาบุคลากร ICT ที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในปัจจุบัน
( ICT Workforce )
2. การพัฒนาบุคลกรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และบุคคลทั่วไปประกอบด้วย
2.1) ส่งเสริมให้มีการนำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในการศึกษาในระบบทุกระดับชั้นมากขึ้น แต่มุ่งเน้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ โดยพัฒนาทักษะด้าน ICT ให้แก่ครู ควบคู่ไปกับการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาโดยใช้ ICT
2.2) พัฒนาการเรียนรู้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ICT ของชุมชนที่มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย
2.3 ) พัฒนาการเรียนรู้ ICT แก่แรงงานในสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานรวมถึงส่งเสริมการพัฒนาระบบ E Learning สำหรับการเรียน ICT
2.4 ) พัฒนาการเรียน ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและผู้สูงอายุรวมถึงการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้พิการและการฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT แก่ผู้สูงอายุ
2.5 ) พัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT แ ก่บุคคลภาครัฐรวมถึงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT ให้แก่บุคคลภาครัฐทั้งนี้ให้มีแรงจูงใจ ค่าตอบแทนและโอกาสความก้าวหน้าในการทำงานที่เหมาะสม
3. มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนา “ คน ” ในวงกว้าง เช่นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกำลังคนด้าน ICT ของประเทศเพื่อประกอบการวางแผนการพัฒนากำลังคน ส่งเสริมสมาคม ชมรม เครือข่ายส่งเสริมการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การบริการจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างธรรมาภิบาล
( National I C T Governance ) โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยมีมาตรการ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดการ ICT ระดับชาติ
2. ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรร
งบประมาณด้าน I CT ของรัฐ
3. พัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงกลไกการบังคับใช้กฎหมาย
กฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ I C T ต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดสถานภาพการพัฒนา I C T ของประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อให้สังคมมีความ
สงบสุข และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยมีมาตรการที่สำคัญ 4 กลุ่ม
ประกอบด้วย
1. ขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย
โทรคมนาคม
2. เร่งรัดสร้างความมั่นคงของระบบสารสนเทศ ( Information Security )
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ประชาชน
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สำหรับการบริการภาคสังคมที่สำคัญ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเครือข่ายและทรัพยากร
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ C E - Governance มีมาตรการสำคัญประกอบด้วย
1. สร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติ
และมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
2. ให้ทุกกระทรวงดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
3. สร้างความเข้มแข็งด้าน I C T แก่หน่วยงานของรัฐในภูมิภาคในระดับจังหวัดและ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม I C T
สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
- มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ I C T
ไทยโดยมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมภายในประเทศทั้งจากหน่วย
งานภาครัฐภาคการศึกษาและภาคเอกชนมาตรการสำคัญของยุทธศาสตร์นี้
ประกอบด้วย
1. การสนับสนุนด้านเงินทุน เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่
2. การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ I C T ไทยสู่ระดับสากล
3. การสร้างโอกาสทางการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการไทย
4. การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมI CTทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การใช้ I C T เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันอย่างยั่งยืน
- มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมภาคการผลิตของประเทศไทยให้เข้าถึงและสามารถ
ใช้ประโยชน์จาก I C T เพื่อก้าวไปสู่การผลิตและการค้ากับการบริการมีมาตรการ
ที่สำคัญ ประกอบด้วย
1. สร้างความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถด้าน I C T ของผู้ประกอบการ
2. เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ส่งเสริมการนำICTมาใช้ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
4. ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
( s M E ) และวิสาหกิจชุมชน
5. ส่งเสริมการนำ I C T มาใช้ในมาตรการการประหยัดพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย
และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืน
3.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ( กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย(กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นด้วย
โดยขอสรุปประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮกเกอร์ สรุปได้ดังนี้
1.1 ) เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วยโทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2) ผู้ที่เผยรหัส ( password ) ที่ตัวเองรู้มาสำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ) ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ต ทาง e – mail มีโทษจำคุก
ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ที่ปล่อยไวรัส
2.1) ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัสหรือแอบเข้าไปทำลายมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2) การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจรโทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้าจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น
3.1) ผู้ที่ส่งอีเมล์ก่อกวนหรือโฆษราขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการมีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
3.2) ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลายทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3) ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการสำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในรอบราชอาณาจักรไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องรับโทษตามกฎหมายนี้
แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตนี้จะจับได้อย่างไร ในทางปฏิบัติกฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมทั้งมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดเลือก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อน จะกระทำโดยพละการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจที่ไปเจาะข้อมูลมาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และแม้ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย แต่ด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าระบบอินเทอร์เน็ตก็ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์
เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ
อารยประเทศทั้งหลายช่วยป้องปรามให้เกิดกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยลงและช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็ว เป็นต้น อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับกฎหมายฉบับอื่น ๆก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ ๆ อาทิ ควรมีข้อยกเว้นให้ส่งเบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ที่ผ่านอินเทอร์เน็ต ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้นและควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ประวัตินักคณิตศาสตร์
ยูคลิด (Euclid)
ยูคลิดเป็นนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันดี ยูคลิดเกิดที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอิยิปต์ เมื่อราว 365 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อมีชีวิตอยู่จนกระทั่งประมาณปี 300 ก่อนคริสตกาล สิ่งที่มีชื่อเสียงคือผลงานเรื่อง The Elements
หลักฐานและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิดยังคงสับสน เพราะมีผู้เขียนไว้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามผลงานเรื่อง The Elements ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานที่สับสนทำให้สันนิษฐานที่เกี่ยวกับยูคลิดมีหลายแนวทาง เช่น ยูคลิดเป็นบุคคลที่เขียนเรื่อง The Element หรือยูคลิดเป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่อเล็กซานเดรีย และได้ช่วยกันเขียนเรื่อง The Elements อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่ายูคลิดมีตัวตนจริง และเป็นปราชญ์อัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในยุคกว่า 2,000 ปี
ผลงาน The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตักยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม
ผลงานของยูคลิดเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาก และกล่าวกันว่าผลงาน The Elements เป็นผลงานที่ต่อเนื่อง และดำเนินมาก่อนแล้วในเรื่องผลงานของนักคณิตศาสตร์ยุคก่อน เช่น ทาลีส (Thales), ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) และพีธากอรัส อย่างไรก็ตาม หลายผลงานที่มีในหนังสือนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นบทพิสูจน์และผลงานของยูคลิดเอง ผลงานของยูคลิดที่ได้รับการนำมาจัดทำใหม่ และตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1482 หลังจากนั้นมีผู้นำมาตีพิมพ์อีกมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน
ตัวอย่างอัล
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ความรู้เพิ่เติม
วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
การหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ
การประมาณ
การประมาณ เป็นการบอกขนาด จำนวน หรือปริมาณ ที่ไม่ต้องการละเอียดถี่ถ้วน เป็นเพียงการคาดคะเนจำนวนหรือปริมาณด้วยสายตาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัด เครื่องคำนวณ หรือการนับแต่อย่างใด เช่นถ้าเราอยากทราบว่ามีไก่กี่
ตัวในเล้า มีมะนาวกี่ลูกอยู่ในตะกร้า หากเราต้องการรายละเอียดเราจำเป็นจะต้องเอาออกมานับดู แต่หากเวลามีจำกัดหรือ
ไม่ต้องการละเอียดมากนักเราก็ ใช้สายตากะเอาแล้วบอกจำนวนคร่าว ๆว่ามีมากน้อยเพียงใด
การบอกจำนวนใด ๆ โดยวิธีการประมาณค่า นั้นเรามักนิยมบอกเป็นจำนวนใกล้เคียงจำนวนเต็มเช่น จำนวนสิบ จำนวน
เต็มร้อย จำนวนเต็มพัน จำนวนเต็มหมื่น จำนวนเต็มแสน จำนวนเต็มล้าน ฯลฯ เป็นต้น
การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ
จำนวนเต็มสิบหมายถึงจำนวนที่หลักหน่วยของเลข 2 หลักลงท้ายด้วยเลข 0 เช่น 10 , 20 , 30 , 40 , 50 , 60 , 70
80 และ 90 การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบนั้น วิธีคิด ให้เราดูจำนวนนั้น ๆ เฉพาะหลักหน่วยและหลักสิบเท่านั้นจะไม่
ดู เลขหลักอื่นประกอบ เช่น 453 เราจะดูเฉพาะเลข 53 เท่านั้นว่าอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดมากที่สุด ระหว่าง 50 กับ 60
ซึ่งใก้ล 53 ที่สุดก็คือ 50 จึงประมาณค่า ใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 453 คือ 450 ดูเส้นจำนวนข้างล่างนี้ประกอบ
<----------------------- ----------------------------------->
--------------------------------------------------------------------------------------
450 451 452 453 454 455 456 457 458 459 460
หรือ 988 เราจะดูเฉพาะ เลข 88 ว่าอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดที่สุด ซึ่งก็คือ 90 จึงประมาณค่าใกล้เคียงของ
988 ได้เป็น 990 เป็นต้น
- หรือการประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของจำนวนใด ๆ เราทำได้อีกโดยให้พิจาณาจากจำนวนนั้นเฉพาะใน
เลขหลักหน่วยเท่านั้น ก็โดยการพิจาณาดังนี้
1. ถ้าตัวเลขในหลักหน่วยมีค่าต่ำกว่า 5 ให้เราประมาณค่าเป็นจำนวนเต็มสิบน้อยกว่าเลขจำนวนนั้น เช่น
324 หลักหน่วยของเลขจำนวนนี้คือ 4 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 5 ให้เราประมาณค่าจำนวนเต็มสิบของจำนวนนี้คือ 320 ดูเส้น
จำนวนข้างล่างนี้ประกอบ
<------------------------------- ---------------------------->
<-------------------------------------------------------------->
320 321 322 323 324 325 326 327 328 329 330
2. ถ้าหลักหน่วยของเลขจำนวนนั้นมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้เราประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ
มากกว่าเลขจำนวนนั้น เช่น 527 หลักหน่วยของเลขจำนวนนี้คือ 7 เราก็สามารถประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของเลข
จำนวนนี้คือ 530
หรือ 625 หลักหน่วยของจำนวน 625 คือเลข 5 เราจะประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 625 ได้คือ
630 เป็นต้น
ตัวอย่าง จงประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของจำนวน 792 และ 796
แนวคิด ในการพิจารณาว่าจำนวน ดังกล่าวข้างต้นอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดมากที่สุดเราจะใช้เส้นจำนวนประกอบการ
พิจารณาก็ได้เพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นดังรูป (ดูเส้นทึบสี <------- และเส้นปะสี -------->)
<-------------- ------------------------------------------------->
<--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------> 790 790 792 793 794 795 796 797 798 799 800
<--------------------------------------------------------------------->
จากรูปจำนวน 792 (ด้านบนเส้นจำนวน <---------------------->) เมื่อดูจากเส้นจำนวนแล้วระยะห่าง 792 กับ 800 จะ
ห่างกันเท่ากับ 8 ช่อง ( ดูตามเส้นปะ ----->) และห่างจาก 790 รวม 2 ช่อง (ดูตามเส้นทึบ < ------ ) จึงประมาณค่าใกล้
เคียงจำนวนเต็มสิบ ของ 792 คือ 790
ทำนองเดียวกัน 796 เมื่อดูจากเส้นจำนวน (ด้านล่างเส้นจำนวน <---------------------->) แล้วระยะทางจาก 796 ถึง
800 จะใกล้กว่า 790 จึงประมาณค่า ใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 796 คือ 800 (ให้นักเรียนนับที่ช่องจำนวน สังเกตเส้น
ปะ <------ และเส้นทึบ ------> ให้เอาจำนวนเต็มสิบที่อยู่ใกล้ที่สุดเป็นประมาณค่าใกล้เคียง)
การประมาณ
การประมาณ เป็นการบอกขนาด จำนวน หรือปริมาณ ที่ไม่ต้องการละเอียดถี่ถ้วน เป็นเพียงการคาดคะเนจำนวนหรือปริมาณด้วยสายตาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัด เครื่องคำนวณ หรือการนับแต่อย่างใด เช่นถ้าเราอยากทราบว่ามีไก่กี่
ตัวในเล้า มีมะนาวกี่ลูกอยู่ในตะกร้า หากเราต้องการรายละเอียดเราจำเป็นจะต้องเอาออกมานับดู แต่หากเวลามีจำกัดหรือ
ไม่ต้องการละเอียดมากนักเราก็ ใช้สายตากะเอาแล้วบอกจำนวนคร่าว ๆว่ามีมากน้อยเพียงใด
การบอกจำนวนใด ๆ โดยวิธีการประมาณค่า นั้นเรามักนิยมบอกเป็นจำนวนใกล้เคียงจำนวนเต็มเช่น จำนวนสิบ จำนวน
เต็มร้อย จำนวนเต็มพัน จำนวนเต็มหมื่น จำนวนเต็มแสน จำนวนเต็มล้าน ฯลฯ เป็นต้น
การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ
จำนวนเต็มสิบหมายถึงจำนวนที่หลักหน่วยของเลข 2 หลักลงท้ายด้วยเลข 0 เช่น 10 , 20 , 30 , 40 , 50 , 60 , 70
80 และ 90 การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบนั้น วิธีคิด ให้เราดูจำนวนนั้น ๆ เฉพาะหลักหน่วยและหลักสิบเท่านั้นจะไม่
ดู เลขหลักอื่นประกอบ เช่น 453 เราจะดูเฉพาะเลข 53 เท่านั้นว่าอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดมากที่สุด ระหว่าง 50 กับ 60
ซึ่งใก้ล 53 ที่สุดก็คือ 50 จึงประมาณค่า ใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 453 คือ 450 ดูเส้นจำนวนข้างล่างนี้ประกอบ
<----------------------- ----------------------------------->
--------------------------------------------------------------------------------------
450 451 452 453 454 455 456 457 458 459 460
หรือ 988 เราจะดูเฉพาะ เลข 88 ว่าอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดที่สุด ซึ่งก็คือ 90 จึงประมาณค่าใกล้เคียงของ
988 ได้เป็น 990 เป็นต้น
- หรือการประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของจำนวนใด ๆ เราทำได้อีกโดยให้พิจาณาจากจำนวนนั้นเฉพาะใน
เลขหลักหน่วยเท่านั้น ก็โดยการพิจาณาดังนี้
1. ถ้าตัวเลขในหลักหน่วยมีค่าต่ำกว่า 5 ให้เราประมาณค่าเป็นจำนวนเต็มสิบน้อยกว่าเลขจำนวนนั้น เช่น
324 หลักหน่วยของเลขจำนวนนี้คือ 4 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 5 ให้เราประมาณค่าจำนวนเต็มสิบของจำนวนนี้คือ 320 ดูเส้น
จำนวนข้างล่างนี้ประกอบ
<------------------------------- ---------------------------->
<-------------------------------------------------------------->
320 321 322 323 324 325 326 327 328 329 330
2. ถ้าหลักหน่วยของเลขจำนวนนั้นมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้เราประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ
มากกว่าเลขจำนวนนั้น เช่น 527 หลักหน่วยของเลขจำนวนนี้คือ 7 เราก็สามารถประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของเลข
จำนวนนี้คือ 530
หรือ 625 หลักหน่วยของจำนวน 625 คือเลข 5 เราจะประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 625 ได้คือ
630 เป็นต้น
ตัวอย่าง จงประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของจำนวน 792 และ 796
แนวคิด ในการพิจารณาว่าจำนวน ดังกล่าวข้างต้นอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดมากที่สุดเราจะใช้เส้นจำนวนประกอบการ
พิจารณาก็ได้เพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นดังรูป (ดูเส้นทึบสี <------- และเส้นปะสี -------->)
<-------------- ------------------------------------------------->
<--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------> 790 790 792 793 794 795 796 797 798 799 800
<--------------------------------------------------------------------->
จากรูปจำนวน 792 (ด้านบนเส้นจำนวน <---------------------->) เมื่อดูจากเส้นจำนวนแล้วระยะห่าง 792 กับ 800 จะ
ห่างกันเท่ากับ 8 ช่อง ( ดูตามเส้นปะ ----->) และห่างจาก 790 รวม 2 ช่อง (ดูตามเส้นทึบ < ------ ) จึงประมาณค่าใกล้
เคียงจำนวนเต็มสิบ ของ 792 คือ 790
ทำนองเดียวกัน 796 เมื่อดูจากเส้นจำนวน (ด้านล่างเส้นจำนวน <---------------------->) แล้วระยะทางจาก 796 ถึง
800 จะใกล้กว่า 790 จึงประมาณค่า ใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 796 คือ 800 (ให้นักเรียนนับที่ช่องจำนวน สังเกตเส้น
ปะ <------ และเส้นทึบ ------> ให้เอาจำนวนเต็มสิบที่อยู่ใกล้ที่สุดเป็นประมาณค่าใกล้เคียง)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)