วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานข้อสอบ

ข้อสอบ วิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอนผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

โรงเรียนข้าพเจ้าสามารถนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับองค์กรเพื่อช่วยในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรและเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารและการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศทุกระบบจะต้องมีข้อมูลนำเข้า ประมวลผลและให้ผลลัพธ์ที่เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อองค์กร
- กรอบแนวความคิด ขั้นตอนผลกระทบต่อการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอกล่าวถึงระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management – Informantion System ) มี
- วัตถุประสงค์หลัก : ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติการและสรุปสภาพการณ์
- ข้อมูลนำเข้า : ข้อมูลจากการรายงานกิจกรรมและจากแต่ละขอบเขตการบริหารในองค์กร
ตัวแบบไม่ซับซ้อน
- สารสนเทศผลลัพธ์ : รายงานสรุป รายงานสิ่งสกปกติสารสนเทศที่มีโครงสร้าง
- ผู้ใช้ : ผู้บริหาร
- รูปแบบของการตัดสินใจ : มีโครงสร้างแน่นอน
- การใช้ข้อมูลสนับสนุน : ข้อมูลสนับสนุนตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด
- ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า การที่นะระบบสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานใน
องค์กรเพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำอย่างเป็นระบบ เพื่อสะดวกในการใช้ งานซึ่งมีข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. สารสนเทศด้านโรงเรียน เช่น ข้อมูลประวัติโรงเรียน
2. สารสนเทศด้านบุคลากร เช่น ข้อมูลประวัติบุคลากร ข้อมูลจำนวนบุคลากร
3. สารสนเทศด้านงบประมาณ ได้แก่ ภาพรวมงบประมาณ ภาพรวมยุทธศาสตร์
สรุปจำนวนโครงการ สรุปจำนวนกิจกรรม ติดตามแผนการดำเนินงาน
4. สารสนเทศด้านพัสดุและครุภัณฑ์ ได้แก่
- ทะเบียนทรัพย์สินตามปีงบประมาณ
- อาคารและสิ่งปลูกสร้าง
- สรุปจำนวนการสั่งซื้อ
- รายงานจำนวนครุ๓ณฑ์แต่ละประเภท
5. สารสนเทศด้านการเงินและบัญชี ได้แก่
- งบการเงินของโรงเรียน
- รายได้ค่าใช้จ่ายของโรงเรียน
6. สารสนเทศด้านการจัดการศึกษา ได้แก่
- จำนวนนักเรียนทั้งหมด
- จำนวนนักเรียนย้ายเข้า ย้ายออก
- จำนวนนักเรียนประจำปีการศึกษา
7. สารสนเทศด้านกลไกประกันคุณภาพ ได้แก่
- ข้อมูลการประเมินตนเอง
- รายงานตัวบ่งชี้วัด
- สรุปตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพ
- S A R
8. สารสนเทศด้านงานบริหารโรงเรียน ได้แก่
- ข้อมูลการใช้ยานพาหนะ
- แสดงหนังสือเข้าและออก
- รายงานติดตามหนังสือเข้าและออก
- สถิติการใช้ห้องปฏิบัติการ / ห้องประกอบการ
- สรุปหนังสือรับส่ง
- สรุปการใช้รถยนต์
ผลกระทบในการใช้ระบบสารสนเทศในองค์กร
- กรณีเครือข่ายล่ม ไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนั้น ทำให้การปฏิบัติล่าช้า หรือไม่ทันเวลา ฉะนั้น องค์กรควรเตรียมรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ โดยสำรองข้อมูลทุกๆด้านของโรงเรียนลงในแผ่น C D หรือ Flash Driver เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลให้คงอยู่เหมือนเดิมและสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการข้อมูลเหล่านั้น
ข้อ 2 . ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้าน ไอซีที ( I C T ) ฉบับที่ 2ของรัฐบาลไทยจงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด

ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที ( I C T ) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จากการสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บท ว่าด้วย 6 ยุทธศาสตร์ แยกรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
มีสาระสำคัญ เพื่อเร่งพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมโดยรวม โดยมีมาตรการที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. การพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT Professional )
1.1 ) พัฒนาผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะและคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
1.2 ) พัฒนาบุคลากร ICT ที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในปัจจุบัน
( ICT Workforce )
2. การพัฒนาบุคลกรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และบุคคลทั่วไปประกอบด้วย
2.1) ส่งเสริมให้มีการนำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในการศึกษาในระบบทุกระดับชั้นมากขึ้น แต่มุ่งเน้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ โดยพัฒนาทักษะด้าน ICT ให้แก่ครู ควบคู่ไปกับการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาโดยใช้ ICT
2.2) พัฒนาการเรียนรู้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ICT ของชุมชนที่มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย
2.3 ) พัฒนาการเรียนรู้ ICT แก่แรงงานในสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานรวมถึงส่งเสริมการพัฒนาระบบ E Learning สำหรับการเรียน ICT
2.4 ) พัฒนาการเรียน ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและผู้สูงอายุรวมถึงการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้พิการและการฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT แก่ผู้สูงอายุ
2.5 ) พัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT แ ก่บุคคลภาครัฐรวมถึงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT ให้แก่บุคคลภาครัฐทั้งนี้ให้มีแรงจูงใจ ค่าตอบแทนและโอกาสความก้าวหน้าในการทำงานที่เหมาะสม
3. มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนา “ คน ” ในวงกว้าง เช่นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกำลังคนด้าน ICT ของประเทศเพื่อประกอบการวางแผนการพัฒนากำลังคน ส่งเสริมสมาคม ชมรม เครือข่ายส่งเสริมการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การบริการจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างธรรมาภิบาล
( National I C T Governance ) โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยมีมาตรการ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดการ ICT ระดับชาติ
2. ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรร
งบประมาณด้าน I CT ของรัฐ
3. พัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงกลไกการบังคับใช้กฎหมาย
กฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ I C T ต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดสถานภาพการพัฒนา I C T ของประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อให้สังคมมีความ
สงบสุข และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยมีมาตรการที่สำคัญ 4 กลุ่ม
ประกอบด้วย
1. ขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย
โทรคมนาคม
2. เร่งรัดสร้างความมั่นคงของระบบสารสนเทศ ( Information Security )
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ประชาชน
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สำหรับการบริการภาคสังคมที่สำคัญ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเครือข่ายและทรัพยากร
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ C E - Governance มีมาตรการสำคัญประกอบด้วย
1. สร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติ
และมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
2. ให้ทุกกระทรวงดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
3. สร้างความเข้มแข็งด้าน I C T แก่หน่วยงานของรัฐในภูมิภาคในระดับจังหวัดและ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม I C T
สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
- มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ I C T
ไทยโดยมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมภายในประเทศทั้งจากหน่วย
งานภาครัฐภาคการศึกษาและภาคเอกชนมาตรการสำคัญของยุทธศาสตร์นี้
ประกอบด้วย
1. การสนับสนุนด้านเงินทุน เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่
2. การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ I C T ไทยสู่ระดับสากล
3. การสร้างโอกาสทางการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการไทย
4. การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมI CTทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การใช้ I C T เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันอย่างยั่งยืน
- มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมภาคการผลิตของประเทศไทยให้เข้าถึงและสามารถ
ใช้ประโยชน์จาก I C T เพื่อก้าวไปสู่การผลิตและการค้ากับการบริการมีมาตรการ
ที่สำคัญ ประกอบด้วย
1. สร้างความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถด้าน I C T ของผู้ประกอบการ
2. เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ส่งเสริมการนำICTมาใช้ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
4. ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
( s M E ) และวิสาหกิจชุมชน
5. ส่งเสริมการนำ I C T มาใช้ในมาตรการการประหยัดพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย
และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืน
3.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ( กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรม

ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย(กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นด้วย
โดยขอสรุปประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮกเกอร์ สรุปได้ดังนี้
1.1 ) เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วยโทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2) ผู้ที่เผยรหัส ( password ) ที่ตัวเองรู้มาสำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ) ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ต ทาง e – mail มีโทษจำคุก
ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ที่ปล่อยไวรัส
2.1) ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัสหรือแอบเข้าไปทำลายมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2) การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจรโทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้าจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น
3.1) ผู้ที่ส่งอีเมล์ก่อกวนหรือโฆษราขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการมีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
3.2) ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลายทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3) ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการสำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในรอบราชอาณาจักรไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องรับโทษตามกฎหมายนี้
แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตนี้จะจับได้อย่างไร ในทางปฏิบัติกฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมทั้งมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดเลือก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อน จะกระทำโดยพละการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจที่ไปเจาะข้อมูลมาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และแม้ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย แต่ด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าระบบอินเทอร์เน็ตก็ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์
เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ
อารยประเทศทั้งหลายช่วยป้องปรามให้เกิดกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยลงและช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็ว เป็นต้น อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับกฎหมายฉบับอื่น ๆก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ ๆ อาทิ ควรมีข้อยกเว้นให้ส่งเบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ที่ผ่านอินเทอร์เน็ต ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้นและควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จบแล้ว



เรียนรู้พร้อมท่องเที่ยว